... Wellcome To blogspot Arisara Phusit...

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 19 กันยายน .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.
1.กล้องที่ทำจากแกนกระดาษทิชชูจะมีลักษณะยาวๆมีลูกปิงปองอยู่ข้างใน
วิธีการ ถ้าปิดรูกระดาษก็จะไม่เห็นลูกปิงปองถ้าเราเอามือออกก็จะมองเห็นเพราะจะทำให้แสงเข้าไปในแกนทิชชูได้
จากสื่อชิ้นนี้สรุปได้ว่า แสงเมื่อไปกระทบกับวัตถุก็จะทำให้เรามองเห็น




ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์มีสิ่งประดิษฐ์มาสอดแทรกในการสอนไม่ใช้การบรรยายเพียงอย่างเดียวซึ่งทำให้สนุกและได้เกิดการค้นพบด้วยตนเองและสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงๆค่ะ อาจารย์สอนเรื่องมารยาทในการฟังไปด้วยเมื่อมีเสียงนักศึกษาพูดคุย และมีการใช้เพลงเป็นสื่อการสอนกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด
เทคนิคการสอน : อาจารย์ใช้เทคนิคการเรียกความสนใจกลับมาสู่ผู้พูดด้วยการเมื่อมีผู้พูดอยู่หน้าห้องแล้วผู้ฟังที่นั่งอยู่ข้างในไม่ให้ความสนใจหรือพูดคุยกันก็ให้ผู้ที่พูดหน้าห้องเงียบก่อน ผู้อยู่ในห้องก็จะรู้โดยปริยาย  

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 12 กันยายน .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.


Content : เรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย


ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์สอนและพูดเชื่อมโยงรายละเอียดของเนื้อหาและให้โอกาสนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น ไม่เพียงแต่สอนหรือพูดฝ่ายเดียว และยังมีการพูดเสริมขยายความเรื่องนั้นๆทำให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเข้าใจมากขึ้นด้วย
เทคนิคการสอน: ขณะสอนจะใช้การยกตัวอย่างและเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นและมีการสอนโดยใช้ Technology

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอาจารย์ผู้สอน
 อาจารย์จินตนา  สุขสำราญวัน/เดือน/ปี 5 กันยายน .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.


Content : เรื่องการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

Knowledge 
1.ได้รู้จักความหมายของพัฒนาการกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.การเรียนรู้ คือการที่เด็กนำความรู้มาใช้และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
3.วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือการที่เด็กได้ลงมือกระทำ
4.เครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้คือประสาทสัมผัสทั้ง5 (Learning sensory)ขั้นประสาทสัมผัสเมื่อรับรู้ก็จะส่งไปยังสมองจนเกิดการประมวลผลและการเรียนรู้เกิดขึ้น
Adoption
1.สามารถจัดประสบการณ์ให้เด็กในเรื่องที่เด็กสนใจได้
2.ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือทำ
3.สามารถจัดประสบการณ์ให้ตรงกับพัฒนาการและคุณลักษณะตามวัยของเด็กได้
ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์อารมณ์ดีทำให้นักศึกษาสนุก มีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้ได้เรียนรู้คำศัพท์ซึ่งการได้ยินได้เห็นบ่อยๆก็จะทำให้จำได้
เทคนิคการสอนมีการใช้ภาพเป็นสื่อ มีการสอนแบบบรรยาย สอนโดยใช้Graphicและมีการใช้Question
  


วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ(สัปดาห์ที่3)

Here > ''เรื่อง 5 แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล''

จากบทความจะช่วยคลายความสงสัยให้กับหลายๆคน ว่าวิทยาศาสตร์จะยากไปสำหรับเด็กอนุบาลหรือไม่?อย่างไร
          วิทยาศาสตร์ ในที่นี้ หมายถึง ความพยายามที่มนุษย์ต้องการที่จะเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด สังเกตได้จากเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็น การช่างสังเกต ชอบซักถามสิ่งต่างๆจากที่พวกเขาเห็น ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจหรือแสดงท่าทีรำคาญไม่สนใจในคำถามเด็ก ก็จะทำให้เด็กไม่เกิดทักษะและความคิดรวบยอดต่อไปได้  นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาได้ให้ความหมายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลไว้2ท่าน ด้วยกัน ดังนี้
                     ดร.วรนาท    รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยาฝ่ายอนุบาล กล่าวว่าทุกคนคงรู้กันดีว่าวิทยาศาสตร์สำคัญสำหรับเด็ก แต่ท่านได้เห็นว่าแนวทางการสินต่างหากที่สำคัญที่สุดที่จะมีวิธีไหนเด็กถึงจะเรียนรู้และเข้าใจ อย่างแรกครูต้องเข้าใจพัฒนาการเด็กให้แม่นยำเพื่อจะได้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก        
                 ท่าน ดรเทพกัญญา   พรหมขัติแก้ว นักวิชาการวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา กล่าวว่าวิทยาศาสตร์เน้นการสอนแบบองค์รวมโดยบูรณาการการสอนวิทยาศาสตร์เข้าไปในการสอนปกติให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัว ซึ่งบางครั้งครูไม่สามารถตอบคำถามให้กับเด็กได้ก็จะทำให้ปิดกั้นความคิดของเด็กแต่มีครูอีกประเภทที่ป้อนคำตอบให้เด็กอย่างเดียว เด็กก็จะไม่เกิดกระบวนการคิดและค้นพบด้วยตัวเอง ซึ่งท่านได้ให้แนวทางปฏิบัติไว้ 5 ข้อ ดังนี้
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบเองได้ คือ ถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน คือ พาเด็กออกไปสำรวจสิ่งๆนั้น
3.เอาสิ่งที่เด็กค้นพบมาตั้งคำถาม กลับมาถามเด็กว่าสิ่งที่เห็นเป็นเช่นไรอย่างไรและให้เด็กตั้งคำถามกับครูเมื่อมีข้อสงสัย
4. นำเสนอสิ่งที่สำรวจ เมื่อเขาได้คำตอบที่ต้องการแล้วให้เด็กได้นำเสนอออกมาในรูปแบบของผลงาน
5.  นำเสนอสิ่งที่ค้นพบเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ ครูสามารถช่วยชี้แนะหรือทำการทดลองเล็กๆให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่2(กิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์)

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 (ไม่มีการเรียนการสอน)


หมายเหตุ : มีกิจกรรมรับน้องใหญ่ 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม 
 1.ทำให้รุ่นน้องเกิดความสามัคคี กลมเกลียวกันเป็นหนึ่งเดียว และได้ทำความรู้จักกัน 
 2.ทำให้รุ่นน้องได้รู้จักกับรุ่นพี่ เกิดความเคารพและคอยช่วยเหลือกัน 
 3.ทำให้สาขาการศึกษาปฐมวัยรวมกันเป็นหนึ่งเดียวจากกิจกรรมนี้ 
 4.ทำให้ได้เรียนรู้และได้เห็นนิสัยของแต่ละคนได้มากขึ้น 
 5.ทำให้ได้สืบทอดประเพณีที่ต่อกันมารุ่นสู่รุ่น 
 6.ทำให้ได้รับคำปรึกษาและประสบการณ์ต่างๆที่รุ่นพี่ถ่ายทอดให้ 

ประเมินตนเอง 
จากการร่วมกิจกรรม อาจมีเหนื่อยบ้างจากการพาน้องเดินรอบมหาวิทยาลัยหรือการบูมบ้าง แต่เมื่อมีอะไรก็คอยแนะนำ ให้คำปรึกษา กับรุ่นน้อง ในเรื่องต่างๆถ้าพอช่วยได้ก็คอยช่วยเหลือ ความรู้สึกในกิจกรรมนี้ รู้สึกสนุกสนานและดีใจที่เห็นทุกคนช่วยกัน จนทุกอย่างออกมาได้ดีถึงแม้จะเป็น
เอกผู้หญิงแต่ทุกคนก็ทำออกมาได้อย่างเต็มที่ค่ะ ^^