... Wellcome To blogspot Arisara Phusit...

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ(สัปดาห์ที่3)

Here > ''เรื่อง 5 แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล''

จากบทความจะช่วยคลายความสงสัยให้กับหลายๆคน ว่าวิทยาศาสตร์จะยากไปสำหรับเด็กอนุบาลหรือไม่?อย่างไร
          วิทยาศาสตร์ ในที่นี้ หมายถึง ความพยายามที่มนุษย์ต้องการที่จะเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด สังเกตได้จากเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็น การช่างสังเกต ชอบซักถามสิ่งต่างๆจากที่พวกเขาเห็น ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจหรือแสดงท่าทีรำคาญไม่สนใจในคำถามเด็ก ก็จะทำให้เด็กไม่เกิดทักษะและความคิดรวบยอดต่อไปได้  นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาได้ให้ความหมายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลไว้2ท่าน ด้วยกัน ดังนี้
                     ดร.วรนาท    รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยาฝ่ายอนุบาล กล่าวว่าทุกคนคงรู้กันดีว่าวิทยาศาสตร์สำคัญสำหรับเด็ก แต่ท่านได้เห็นว่าแนวทางการสินต่างหากที่สำคัญที่สุดที่จะมีวิธีไหนเด็กถึงจะเรียนรู้และเข้าใจ อย่างแรกครูต้องเข้าใจพัฒนาการเด็กให้แม่นยำเพื่อจะได้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก        
                 ท่าน ดรเทพกัญญา   พรหมขัติแก้ว นักวิชาการวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา กล่าวว่าวิทยาศาสตร์เน้นการสอนแบบองค์รวมโดยบูรณาการการสอนวิทยาศาสตร์เข้าไปในการสอนปกติให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัว ซึ่งบางครั้งครูไม่สามารถตอบคำถามให้กับเด็กได้ก็จะทำให้ปิดกั้นความคิดของเด็กแต่มีครูอีกประเภทที่ป้อนคำตอบให้เด็กอย่างเดียว เด็กก็จะไม่เกิดกระบวนการคิดและค้นพบด้วยตัวเอง ซึ่งท่านได้ให้แนวทางปฏิบัติไว้ 5 ข้อ ดังนี้
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบเองได้ คือ ถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน คือ พาเด็กออกไปสำรวจสิ่งๆนั้น
3.เอาสิ่งที่เด็กค้นพบมาตั้งคำถาม กลับมาถามเด็กว่าสิ่งที่เห็นเป็นเช่นไรอย่างไรและให้เด็กตั้งคำถามกับครูเมื่อมีข้อสงสัย
4. นำเสนอสิ่งที่สำรวจ เมื่อเขาได้คำตอบที่ต้องการแล้วให้เด็กได้นำเสนอออกมาในรูปแบบของผลงาน
5.  นำเสนอสิ่งที่ค้นพบเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ ครูสามารถช่วยชี้แนะหรือทำการทดลองเล็กๆให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น