... Wellcome To blogspot Arisara Phusit...

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 8 (Midterm Exam)


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 10 ตุลาคม .. 2557  เวลาเรียน -
เวลาเข้าสอน -    เวลาเข้าเรียน -  เวลาออกจากห้องเรียน -

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาค(Midterm Exam) ของมหาวิทยาลัย

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 3 ตุลาคม .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.

Activities : พลังงานพาฉันเคลื่อนที่

Steps 1 : ตัดครึ่งแกนกระดาษทิชชู
Steps 2 : วัดกระดาษให้เป็นวงกลมเท่ากับรูแกนทิชชูและวาดรูประบายสีตามจินตนาการตัดออกมาจะได้รูปวงกลม
Steps 3 : กลับด้านแกนทิชชูขึ้นและเจาะรูด้วยตุ๊ดตู่ระหว่างกึ่งกลาง
Steps 4 : ร้อยเชือกเข้ากับรูที่เจาะทั้ง2ด้านแล้วผูกปม
Steps 5 : ติดกระดาษรูปที่เราวาด ไว้ด้านหน้าของแกนทิชชู

สรุปความรู้จากของเล่น(The knowledge of Toys)
สิ่งที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วคือ…?
1.การเกิดพลังงานศักย์ และการเกิดแรงหักเห จากการดึงเชือกให้ตึงและการกางมุมองศาด้านล่างเป็นสามเหลี่ยมกับแรงที่ดึงขึ้นไปเรื่อยๆ

การนำไปใช้กับเด็กปฐมวัย(Applied to children)
เด็กสามารถประดิษฐ์ของเล่นแบบนี้ได้ด้วยตนเอง การสอนแบบนี้เป็นการบอกลำดับขั้นตอนให้เด็กทำ ซึ่งเป็นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและจากการที่ได้ทดลองทำแล้ว เด็กก็จะได้ทักษะที่ต้องการ ได้วิธีการเล่นต่างๆที่ออกมาแตกต่างกัน จะสังเกตความแตกต่างของสิ่งของ สังเกตว่าคนอื่นทำไมถึงทำได้เร็วหรือช้ากว่าเรา วิธีนี้เด็กก็จะเกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) และเพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ครูจะต้องใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดอยู่เสมอ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน : วันนี้อาจารย์มีการสอนแบบสาธิตได้ให้พวกเราลงมือปฏิบัติสร้างชิ้นงานและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสามารถนำไปให้เด็กเล่นได้จริงและนำวิธีการสอนของอาจารย์ไปใช้กับเด็กได้สุดท้ายเมื่ออาจารย์นำเสนอข้อความรู้ก็จะมีการสรุปทุกครั้ง!ทำให้เข้าใจและไม่มีข้อสงสัยค่ะ
เทคนิคการสอน : อาจารย์ใช้วิธีการอธิบาย ยกตัวอย่าง สาธิต และจะไม่บอกวิธีการเล่นแต่จะให้เกิดการสังเกตเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งเป็นทักษะทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง

ครั้งที่6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 26 กันยายน .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.


Activities : ท้าลมหมุนด้วยกระดาษ

Type 1
Steps 1 : ตัดกระดาษความกว้างประมาณ 2ซม./ ความสูง ประมาณ 2 นิ้ว
Steps 2 : พับครึ่งกระดาษ จากความสูงลงมาแล้วกางออก
Steps 3 : ตัดกระดาษจากด้านล่าง(ไปถึงเส้นกลางที่พับเมื่อสักครู่)และพับให้ปีกไปคนละฝั่ง
Steps 4 : กลับกระดาษลงมาอีกด้านที่ไม่มีรอยตัด ให้พับปลายขึ้นประมาณ 1ซม.และใช้คลิปหนีบกระดาษกลัดไว้ตรงกลาง

Type 2
Steps 1 : ตัดกระดาษความกว้างประมาณ 2ซม./ ความสูง ประมาณ 2 นิ้ว
Steps 2 : พับครึ่งกระดาษ จากความสูงลงมาแล้วกางออก
Steps 3 : ตัดกระดาษจากด้านล่างขึ้นไปเล็กน้อย(ไม่ต้องถึงเส้นกลางที่พับเมื่อสักครู่)และพับให้ปีกไปคนละฝั่ง
Steps 4 : กลับกระดาษลงมาอีกด้านที่ไม่มีรอยตัด ให้พับปลายขึ้นประมาณ 1ซม.และใช้คลิปหนีบกระดาษกลัดไว้ตรงกลาง

สรุปความรู้จากของเล่น(The knowledge of Toys)
เหตุที่หมุนได้เกิดจาก…?
1.แรงโน้มถ่วงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
2.น้ำหนัก
3.พื้นที่ของปีกกระดาษ
4.อากาศ ซึ่งเป็นสิ่งหนุนรองที่ทำให้ตกลงช้า
การนำไปใช้กับเด็กปฐมวัย(Applied to children)
ในสอนครูควรให้เด็กได้ศึกษาทดลองด้วยตนเองก่อน โดยไม่ควรบอกสาเหตุกับเด็กว่าเพราะอะไรหรือเล่นโดยวิธีไหนแต่จะใช้คำถามและให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง เช่น  เด็กๆมีวิธีการอย่างไรแบบไหนบ้างคะ,แล้วเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้  ก็จะทำให้เด็กได้คิดหาคำตอบ และได้คำตอบที่หลากหลายของแต่ละคน
1.สงสัย  (wonder)
2.สังเกต  (observe)
3.วิเคราะห์ (Analysis)
4.เปรียบเทียบ (Compare)
5.ตั้งสมมุติฐาน (hypothesized)
6.การแก้ปัญหา (The solution)
7.สรุปผล (Conclusion)

           กิจกรรมนี้เด็กจะมีความหลากหลายของวิธีการ นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ อย่าให้เด็กทำแบบเดียวกันในเรื่องเดียวกัน ควรให้เด็กได้ศึกษาเองด้วยการลงมือกระทำ เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) สอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์  บรูนเนอร์ และ จอนดิ้วอี้ ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก โดยมีเครื่องมือในการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

Activities : การนำเสนอหน่วยการเรียนรู้แต่ละกลุ่ม
ผลงานหน่วยต่างๆของแต่ละกลุ่ม

ของกลุ่มดิฉันที่นำมาแก้ไขแล้วตามคำแนะนำของอาจารย์ค่ะ

หน่วย ดอกมะลิ
การเขียน Mindmap หัวข้อสำคัญจะต้องวนไปทางขวา และสิ่งที่เด็กจะต้องรู้ในหน่วยต่างๆจะต้องมีหัวข้อ ดังนี้
1.ชนิดหรือประเภท
2.ลักษณะและส่วนประกอบ
3.ประโยชน์
4.การดูแลรักษา
5.โทษหรือข้อพึงระวัง
6.การขยายพันธุ์ (เพิ่มในหน่วยพืช)
*ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีชื่อ และมีที่มา ที่แตกต่างกัน*

ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์มีสื่อมาให้พวกเราเรียนรู้และเวลาสอนจะอธิบายเปรียบเทียบให้เห็นอยู่เสมอๆ มีการพูดเล่นทำให้นักศึกษาได้โต้ตอบอย่างสนุกสนานและอาจารย์ยังทำท่าทางตลกทำให้วันนี้รู้สึกเรียนอย่างมีความสุขมากๆค่ะ
เทคนิคการสอน : อาจารย์ใช้มุกตลกสอดแทรกเวลาสอนหรือเวลาอธิบายจะแกล้งพูดผิดในนักศึกษาท้วง เพื่อไม่ให้นักศึกษาง่วงนอนหรือเบื่อ