บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 3 ตุลาคม พ.ศ.
2557 เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00
เวลาเข้าเรียน 12.50 เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.
Activities
: พลังงานพาฉันเคลื่อนที่
Steps 1 : ตัดครึ่งแกนกระดาษทิชชู
Steps 2 : วัดกระดาษให้เป็นวงกลมเท่ากับรูแกนทิชชูและวาดรูประบายสีตามจินตนาการตัดออกมาจะได้รูปวงกลม
Steps 3 : กลับด้านแกนทิชชูขึ้นและเจาะรูด้วยตุ๊ดตู่ระหว่างกึ่งกลาง
Steps 4 : ร้อยเชือกเข้ากับรูที่เจาะทั้ง2ด้านแล้วผูกปม
Steps 5 : ติดกระดาษรูปที่เราวาด ไว้ด้านหน้าของแกนทิชชู
ประเมินอาจารย์ผู้สอน : วันนี้อาจารย์มีการสอนแบบสาธิตได้ให้พวกเราลงมือปฏิบัติสร้างชิ้นงานและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสามารถนำไปให้เด็กเล่นได้จริงและนำวิธีการสอนของอาจารย์ไปใช้กับเด็กได้สุดท้ายเมื่ออาจารย์นำเสนอข้อความรู้ก็จะมีการสรุปทุกครั้ง!ทำให้เข้าใจและไม่มีข้อสงสัยค่ะ
เทคนิคการสอน : อาจารย์ใช้วิธีการอธิบาย ยกตัวอย่าง สาธิต และจะไม่บอกวิธีการเล่นแต่จะให้เกิดการสังเกตเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งเป็นทักษะทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง
สรุปความรู้จากของเล่น(The knowledge of
Toys)
สิ่งที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วคือ…?
1.การเกิดพลังงานศักย์ และการเกิดแรงหักเห จากการดึงเชือกให้ตึงและการกางมุมองศาด้านล่างเป็นสามเหลี่ยมกับแรงที่ดึงขึ้นไปเรื่อยๆ
การนำไปใช้กับเด็กปฐมวัย(Applied to children)
เด็กสามารถประดิษฐ์ของเล่นแบบนี้ได้ด้วยตนเอง
การสอนแบบนี้เป็นการบอกลำดับขั้นตอนให้เด็กทำ ซึ่งเป็นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและจากการที่ได้ทดลองทำแล้ว
เด็กก็จะได้ทักษะที่ต้องการ ได้วิธีการเล่นต่างๆที่ออกมาแตกต่างกัน จะสังเกตความแตกต่างของสิ่งของ
สังเกตว่าคนอื่นทำไมถึงทำได้เร็วหรือช้ากว่าเรา
วิธีนี้เด็กก็จะเกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) และเพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ครูจะต้องใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดอยู่เสมอ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน : วันนี้อาจารย์มีการสอนแบบสาธิตได้ให้พวกเราลงมือปฏิบัติสร้างชิ้นงานและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสามารถนำไปให้เด็กเล่นได้จริงและนำวิธีการสอนของอาจารย์ไปใช้กับเด็กได้สุดท้ายเมื่ออาจารย์นำเสนอข้อความรู้ก็จะมีการสรุปทุกครั้ง!ทำให้เข้าใจและไม่มีข้อสงสัยค่ะ
เทคนิคการสอน : อาจารย์ใช้วิธีการอธิบาย ยกตัวอย่าง สาธิต และจะไม่บอกวิธีการเล่นแต่จะให้เกิดการสังเกตเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งเป็นทักษะทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น