... Wellcome To blogspot Arisara Phusit...

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 15 (ปิดคอร์ส)


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 28 พฤศจิกายน .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.
Knowledge ลักษณะของคำถาม



Activities การทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ให้โอกาสเพื่อนๆได้นำเสนองานวิจัยและบทความสำหรับคนที่ยังไม่ได้นำเสนอ ถึงแม้อาจารย์จะบ่นแต่ในใจก็ยังเมตตานักศึกษาทุกคน วันนี้ก็เรียนมาถึงวันสุดท้ายของวิชานี้ อาจารย์ได้ให้ข้อคิดมากมาย ประทับใจที่วันนี้อาจารย์ได้กล่าวว่า จงคำนึงไว้ว่าช่วงเวลาที่สนุกที่สุดคือตอนเรียน พอจากกันไปก็จะนึกถึงกัน ฉะนั้นเวลาอยู่ด้วยกันให้รักกันไว้อย่าทะเลาะกันซึ่งเป็นคาบสุดท้าย ซึ้งและประทับใจมากค่ะ :’( ขอบคุณอาจารย์ที่อดทนกับพวกหนูนะคะ
เทคนิคการสอน : อาจารย์พูดโน้มน้าวปลุกใจ ใช้คำถาม และยกตัวอย่าง 


วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.

Activities ส่งของเล่นและแยกประเภทของเล่น
แยกได้ 5 กลุ่มดังนี้
1.            แรงโน้มถ่วงจุดศูนย์กลาง/แรงหมุน
-                   วงล้อมหัศจรรย์
-                   VCDหมุน
-                   ตุ๊กตาโยกเยก
-                   เขาวงกต
2.            แรงดันอากาศ ลม
-                   แก้วกระโดด
-                   เครื่องบินเหินเวหา
-                   โมบายสายรุ้ง
-                   รถเป่าลม
-                   รถพลังงานลูกโป่ง
-                   ไหมพรมเต้นระบำ
-                   บูมเมอแรง
3.            พลังงาน การสะสมพลังงานศักย์/จลน์
-                   หนูวิ่ง
-                   ธนูไม้ไอติม
-                   ลูกโป่งยิงบอล
-                   สามเหลี่ยมบิน
-                   แท่นยิง
-                   รถกระป๋องหมุนหนังยาง
-                   กบกระโดด
-                   รถหลอดด้าย
-                   รถล้อเดียว
4. 1.            ลมทำให้เกิดเสียง
-                   กระป๋องผิวปาก
-                   กลองแขก
-                   จักจั่น
-                   ไก่กระต๊าก
2.            น้ำ
-                   เรือโจรสลัดลอยน้ำ
-                   นักประดาน้ำ

Activities การทำวาฟเฟิล


ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์พูดกระตุ้นและส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนตั้งใจเรียน อยากเห็นนักศึกษาทุกคนเป็นครูที่ดีได้ มีการตักเตือนอย่าคุยในเวลาเรียน เวลาเพื่อนเสนอให้ตั้งใจฟังเป็นข้อความรู้นำไปปรับใช้ได้ในการสอน จึงทำให้รู้สึกตั้งใจมากขึ้น
เทคนิคการสอน อาจารย์ใช้คำถาม ถามเป็นลำดับให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปVDOโทรทัศน์ครู


คลิกดู VDO โทรทัศน์ครูได้ที่นี่
VDOโทรทัศน์ครู เรื่อง สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ ตอนที่ 4 นวัตกรรมมาทาลโปรแกรม 
จากการดูวีดีโอทางโรงเรียนได้ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแบบมาทาล คือเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้สังเกตสิ่งรอบตัว ธรรมชาติรอบตัว ได้สัมผัสธรรมชาติโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 โดยเด็กจะได้เรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยการสังเกต เช่น การเดินทางระหว่างบ้านถึงโรงเรียนเส้นทางการเดินทางมาโรงเรียนมีธรรมชาติอะไรบ้าง ครูจะใช้คำถามให้เด็กเกิดกระบวนการคิดถามจากประสบการณ์เดิมและให้เด็กรู้จักอุปกรณ์ที่หลากหลายสร้างเส้นทางโดยมีธรรมชาติระหว่างการเดินทาง เด็กจะได้แยกแยะวัสดุประเภทต่างๆและบอกชนิดของอุปกรณ์ได้ รวมทั้งบอกประโยชน์ของธรรมชาตินั้นๆ เช่น ระหว่างมาโรงเรียนเด็กๆก็จะพบเห็นต้นไม้หลายๆต้น เด็กก็จะได้ใช้อุปกรณ์คือกล่องนมสร้างต้นไม้และทางเดินเชื่อมต่อไปหาบ้านเพื่อนๆ เด็กจะรู้จักการแบ่งปันอุปกรณ์และการเล่นร่วมกับผู้อื่นอีกด้วย
เทคนิคการสอน : ครูจะใช้คำถามให้เด็กวิเคราะห์และอธิบายโดยเด็กจะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ เช่น อุปกรณ์นี้คืออะไร มีลักษณะอย่างไร เรียกว่าอะไร  ทำมาจากอะไร หรือ แล้วถ้าบ้านเด็กๆไม่มีต้นไม้เลยจะเป็นอย่างไร เป็นต้น
ประโยชน์ที่เด็กได้รับ : เด็กจะได้ทักษะการสังเกต การจำแนก การสำรวจ การสื่อความหมาย และการลงความเห็นจากข้อมูล

สรุปวิจัย




เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ของ:สำรวย สุขชัย / มหาวิทยาลัย:ศรีนครินทรวิโรฒ
ความสำคัญและความเป็นมา
การวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้ศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่ผู้ที่ต้องการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยและใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปลูกฝังการใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียงตามวิถีชีวิตและความเหมาะสมกับวัย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวแปรที่ใช้
ตัวแปรต้น การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย
ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ คือ
- การจำแนกประเภท
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553โรงเรียน วัดยางสุทธาราม  แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ จำนวน1 ห้อง .. 27 คน
นิยามศัพท์
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ทักษะการจำแนกประเภท  หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่งสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่
- ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการค้นพบและปฏิบัติจริง ด้วยการสังเกต สำรวจ และทดลองหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ
- ทักษะการลงความเห็น หมายถึง  ความสามารถในการสรุปข้อมูลจากที่ได้ค้นพบที่ได้จากการเรียนรู้และอธิบายสิ่งนั้นอย่างมีเหตุผล
            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
ผู้วิจัยศึกษาเอกสารหลักสูตรและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยต่อมาได้ศึกษาแนวคิดหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมากำหนดเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้ โดยจัดสาระการเรียนรู้เป็น4หน่วยคือ
-ร่างกายของฉัน           -ธรรมชาติให้สีสัน
-ผัก                              -ขยะ
การดำเนินกิจกรรม
ผู้วิจัยกำหนดแผนจัดการเรียนรู้4หน่วย เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ3วัน จัดเนื้อหาการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัยของเด็กโดยให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติจริง ได้สำรวจ ทดลอง สนทนาซักถาม อภิปรายและแสดงความเห็นโดยมีกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ การมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม เช่น หน่วยขยะแปลงกาย โดยมีวิธีการดังนี้
-*เด็กจะนำของเหลือใช้มาประดิษฐ์ของเล่นตามความสนใจ ได้รู้จักรักษาความสะอาดขยะก่อนนำมาใช้และจะต้องมีความอดทนที่จะประดิษฐ์ให้เสร็จ
-*เด็กจะได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ การจำแนกสิ่งที่นำมาใช้ได้ และได้อธิบายลงความเห็นถึงประโยชน์ของขยะที่นำมาประดิษฐ์ของเล่น
            การสรุปผลการวิจัย
ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับพอใช้แต่เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้แล้วอยู่ในระดับที่ดีมากและสูงขึ้นกว่าเดิม


วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 14 พฤศจิกายน .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.
Activities การสาธิตการสอน


Group 7  หน่วยแปรงสีฟัน
เรื่อง ชนิดแปรงสีฟัน
กิจกรรม
ขั้นนำ  ท่องคำคล้องจองแปรงสีฟันตามคุณครูจากนั้นถามเนื้อหาในคำคล้องจองมีอะไรบ้าง(และเด็กรู้จักแปรงสีฟันอะไรอีก)
ขั้นสอน -   ให้เด็กดูภาพแปรงสีฟันแต่ละชนิด ถามเด็กรู้จักไหมเรียกว่าอะไรและให้เด็กช่วยนับมีทั้งหมดเท่าไหร่และเอาเลขฮินดูอารบิกมากำกับ
         -         ตั้งเกณฑ์แปรงสีฟันที่เป็นของด็กทารก และให้เด็กหยิบออกมา ที่เหลือคือไม่ใช่แปรงเด็กทารก
        -      ถามเด็กคิดว่าแบบไหนมีมากกว่ากัน จากนั้นให้พิสูจน์ จับ 1:1
        -        ถามเด็กว่าแปรงแบบไหนหมดก่อน แปรงเด็กหมดก่อน แสดงว่าแปรงผู้ใหญ่มีมากกว่ามีมากกว่าอยู่เท่าไหร่ มากกว่าอยู่ 1 อัน
ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนชนิดของแปรงสีฟันและท่องคำคล้องจองอีก1รอบ
Group 8  หน่วยผีเสื้อ
เรื่อง ลักษณะของผีเสื้อ
กิจกรรม
ขั้นนำ  ใช้เพลงลักษณะผีเสื้อ
ขั้นสอน  -   ถามเด็กในเพลงมีเนื้อหาอะไรบ้าง  ผีเสื้อมีลักษณะอย่างไร นอกเหนือจากเพลงเด็กรู้อะไรเกี่ยวกับผีเสื้ออีกบ้าง (ถามประสบการณ์เดิม)
           -       นำภาพผีเสื้อ2ชนิด มาให้เด็กสังเกต เปรียบเทียบ และทำตารางเพื่อบันทึกลักษณะของผีเสื้อ 2 ชนิด เช่น สี ขนาด กลิ่น รูปร่าง พื้นผิว ส่วนประกอบ เป็นต้น
-   จากนั้นหาความเหมือนของผีเสื้อทั้ง2ชนิด ทำ ยูเนียน หาพื้นที่ ส่วนตรงกลางจะเป็นความเหมือนของทั้ง2ชนิด
ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนลักษณะของผีเสื้อและส่วนประกอบที่ผีเสื้อทั้ง2ชนิดมีเหมือนกัน
Group 9  หน่วยกล้วย
เรื่อง ชนิดของกล้วย
กิจกรรม
ขั้นนำ  ร้องเพลงกล้วยตามคุณครูจากนั้นถามเนื้อหาในเพลงมีอะไรบ้าง(และเด็กรู้จักกล้วยอะไรอีก)
ขั้นสอน -  ให้เด็กดูภาพกล้วยแต่ละชนิด ถามเด็กรู้จักไหมเรียกว่าอะไรและให้เด็กช่วยนับมีทั้งหมดเท่าไหร่และเอาเลขฮินดูอารบิกมากำกับ
-       ตั้งเกณฑ์กล้วยหอม และให้เด็กหยิบกล้วยหอมออกมา ที่เหลือคือไม่ใช่กล้วยหอม
-       ถามเด็กคิดว่ากล้วยอะไรมีมากกว่ากัน จากนั้นให้พิสูจน์ นับโดย จับ 1:1
-       ถามเด็กว่ากล้วยอะไรหมดก่อน >กล้วยหอมหมดก่อน แสดงว่ากล้วยหอมมีน้อยกว่า
เพราะที่ไม่ใช่กล้วยหอมยังเหลือ เหลืออยู่เท่าไหร่? ตอบ..ที่ไม่ใช่กล้วยหอมเหลืออยู่2ลูก แสดงว่า กล้วยหอมมีน้อยกว่าอยู่จำนวน2ลูก
ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนชนิดของกล้วยและร้องเพลงอีก1รอบ

Activities : Cooking ทาโกยากิไข่ข้าว


Knowledge

1.            สามารถแบ่งเด็กทำเป็นฐานๆได้
2.            อุปกรณ์ที่เตรียมให้เด็กต้องปลอดภัย ใช้มีดพลาสติก
3.            มีอุปกรณ์ โต๊ะ เครื่องปรุงใส่ถ้วยใสให้เด็กเห็น
4.            ครูต้องไม่ลืมตั้งคำถามให้เด็กสังเกต
5.            สอดแทรกเรื่องคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ เรื่องการตักตวงเครื่องปรุง เช่น ตักซีอิ๋ว1 ช้อนชา

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 7 พฤศจิกายน .. 2557  เวลาเรียน 13.00
เวลาเข้าสอน 13.00    เวลาเข้าเรียน 12.50  เวลาออกจากห้องเรียน 16.00 น.
Activities : การสาธิตการสอน


Group 1  หน่วยกบ 
เรื่อง ลักษณะของกบ
กิจกรรม
ขั้นนำ  ใช้เพลงที่บ่งบอกลักษณะของกบ
ขั้นสอน  -  ถามเด็กในเพลงมีเนื้อหาอะไรบ้าง  กบมีลักษณะอย่างไร นอกเหนือจากเพลงเด็กรู้อะไรเกี่ยวกับกบอีกบ้าง (ถามประสบการณ์เดิม)
-     นำภาพกบ2ชนิด มาให้เด็กสังเกต และทำตารางเพื่อบันทึกลักษณะของกบ 2 ชนิด เช่น สี กลิ่น รูปร่าง พื้นผิว ส่วนประกอบ เป็นต้น
-     จากนั้นหาความเหมือนความต่างของกบทั้ง2ชนิด ทำ ยูเนียน หาพื้นที่ ส่วนตรงกลางจะเป็นความเหมือนของทั้ง2ชนิด
ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนลักษณะของกบ
Group 2  หน่วยกระหล่ำปลี
เรื่อง ประโยชน์และโทษของกระหล่ำปลี
กิจกรรม
ขั้นนำ  ใช้เพลงกระหล่ำปลี
ขั้นสอน  -     (ถามประสบการณ์เดิมเห็นกระหล่ำปลีที่ไหนบ้าง)
-       เล่านิทานเรื่องสวนกระหล่ำปลี เนื้อเรื่องจะมี การปลูก ฉีดยาฆ่าแมลง การเก็บ การส่ง การขาย การแปรรูป ฯลฯ
-     ถามเด็กในนิทานกระหล่ำปลีมีประโยชน์และโทษอะไร ทำให้เกิดอาชีพอะไรบ้าง และ มีอะไรนอกเหนือจากนิทานอีกไหม
-       ครูบันทึกประโยชน์และโทษของกระหล่ำปลีลงตาราง
ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันทบทวนประโยชน์และโทษของกระหล่ำปลี
Group 3  หน่วยส้ม
เรื่อง ประโยชน์ของส้ม (การทำน้ำส้ม)
กิจกรรม
ขั้นนำ  ใช้ภาพส้มและการนำส้มไปแปรรูปทำประโยชน์ต่างๆ ให้เด็กดู  และถามประสบการณ์เดิมส้มนำไปทำอะไรได้บ้าง
ขั้นสอน  -    จากนั้นอธิบายอุปกรณ์ในการปรุงอาหารทีละชิ้น (ถามเด็กว่าอุปกรณ์ที่มีอยู่จะทำอะไรกันดี) และบอกขั้นตอนการทำ
         -    สาธิตวิธีทำ โดยอาจให้เด็กมีส่วนร่วม (ขออาสาสมัครมาทำทีละคน > 1คน1ขั้นตอน)
        -   ให้เด็กแบ่งกลุ่มมาคั้นน้ำส้ม เมื่อเสร็จให้เด็กชิมน้ำส้มคั้น

ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนขั้นตอนการทำน้ำส้มคั้นและบอกประโยชน์ของส้ม

Group 4  หน่วยดอกมะลิ

เรื่อง ประกอบอาหารจากดอกมะลิ (ดอกมะลิชุบแป้งทอด)
กิจกรรม
ขั้นนำ  ใช้คำคล้องจองดอกมะลิ ถามในคำคล้องจองมีเนื้อหาอะไรบ้าง
ขั้นสอน  -     จากนั้นอธิบายอุปกรณ์ในการปรุงอาหารทีละชิ้น (ถามเด็กว่าอุปกรณ์ที่มีอยู่จะทำอะไรกันดี) และบอกขั้นตอนการทำ
            -    สาธิตวิธีทำ โดยอาจให้เด็กมีส่วนร่วม (ขออาสาสมัครมาทำทีละคน > 1คน1ขั้นตอน)
-       ต่อไปอาจแบ่งกลุ่มให้เด็กทำ 1 เด็ดดอกมะลิ 2ผสมแป้ง 3ปรุงรส 4ทอด
-      ครูเตรียมกระทะตั้งน้ำมัน บอกเด็กให้ระมัดระวัง เมื่อนำดอกมะลิลงทอดให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลง
-     เมื่อสุกตักใส่จานให้เด็กได้ทานร่วมกัน
ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนขั้นตอนการทำดอกมะลิชุปแป้งทอด
Group 5  หน่วยไก่
เรื่อง  การดูแลรักษาไก่
กิจกรรม
ขั้นนำ  ใช้คำคล้องจองการดูและรักษาไก่ (มีที่อยู่อาศัย อาหาร การป้องกันโรค)
ขั้นสอน  ถามเด็กในเพลงมีเนื้อหาอะไรบ้าง  มีวิธีการดูแลไก่อย่างไร นอกเหนือจากเพลงเด็กรู้อะไรเกี่ยวกับการดูแลไก่อีกบ้าง (ถามประสบการณ์เดิม)
               -   สอนขั้นตอนการดูแลไก่กับเด็กโดยจดบันทึกลงตารางหรือMap เรื่องที่อยู่อาศัยของไก่ อาหารของไก่ การดูแลหรือเลี้ยงไก่ ฯลฯ

ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนวิธีการดูแลรักษาไก่และท่องคำคล้องจองพร้อมกันอีก1รอบ
Group 6  หน่วยปลา
เรื่อง ประกอบอาหารจากปลา (ปลาทูทอด)
กิจกรรม
ขั้นนำ  ใช้คำคล้องจองปลาทู จากนั้นอธิบายอุปกรณ์ในการปรุงอาหารทีละชิ้น
ขั้นสอน  -   (ถามเด็กว่าอุปกรณ์ที่มีอยู่จะมาทำอะไรกัน) และบอกขั้นตอนการทำ
            -     สาธิตวิธีทำ โดยอาจให้เด็กมีส่วนร่วม (ขออาสาสมัครมาทำทีละคน > 1คน1ขั้นตอน)
-       ครูเตรียมกระทะตั้งน้ำมัน บอกเด็กให้ระมัดระวัง น้ำมันจะกระเด็น รมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีและกลิ่นปลาทู
-      เมื่อสุกตักใส่จานพร้อมข้าวให้เด็กได้ทานร่วมกัน
ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนวิธีทอดปลาทู
Knowledge
1.            เทคนิคการสอนจะต้องจัดลำดับให้ดี
2.            สอนให้เด็กดูเห็นชัดๆ ตามจุดประสงค์และหัวข้อเรื่องที่ตั้งไว้เนื้อหาไม่ต้องโยงไปไกล
3.            การเขียนคำคล้องจองสามารถใช้คำแทนรูปภาพได้
4.            เมื่อใช้คำคล้องจองหรือเพลงท่องเสร็จอย่าลืมไปทวนเนื้อหาที่เรานำมา
5.            คณิตศาสตร์และภาษาเป็นเครื่องมือในการสอนวิทยาศาสตร์และวิชาอื่นๆ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน : วันนี้อาจารย์ได้แนะนำการสอนให้นักศึกษา การที่อาจารย์ได้อธิบายหลายๆครั้งก็ทำให้พวกเราจำได้มากขึ้นค่ะอาจไม่ได้เกิดผลในวันเดียวแต่ในอนาคตเราก็สามารถนึกย้อนถึงคำสอนของอาจารย์และได้นำไปใช้อย่างแน่นอน นอกจากนี้อาจารย์ยังแนะนำเรื่องให้นักศึกษาหัดใช้คำถามกับเด็กรวมทั้งพูดให้กำลังใจให้เราตั้งใจทำ จึงทำให้เกิดความประทับใจในการเรียนในวันนี้มากค่ะ
เทคนิคการสอน : อาจารย์ใช้วิธีการอธิบาย ยกตัวอย่าง สาธิต และใช้คำถาม